นิวตันยังเดินหน้าทำแบบเดียวกันเมื่อเขากลับถึงทรินิตี้
โดย:
123
[IP: 146.70.113.xxx]
เมื่อ: 2023-04-18 17:08:46
หลังจากโรคระบาดจางลง ในปี 1666 นิวตันยังเดินหน้าทำแบบเดียวกันเมื่อเขากลับถึงทรินิตี้ (Thomas Levenson, 2020) บางแหล่งข้อมูลชี้แบบเจาะจงว่า ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1666 (พ.ศ. 2209) เขาสร้างวิชาแคลคูลัส ซึ่งนิวตันเรียกว่า method of fluxions ต่อมาในเดือนพฤษภาคมก็ค้นพบทฤษฎีแสงอาทิตย์ และเชื่อกันว่า ในช่วงนี้นี่เองที่นิวตัน สังเกตเห็นแอปเปิลที่หล่นจากต้น นำมาสู่แรงบันดาลใจซึ่งพัฒนามาสู่กฎแรงโน้มถ่วงตามตำนานที่เล่าขานกันว่า ขณะที่นิวตัน นั่งคิดสาเหตุที่ทำให้ดวงจันทร์โคจรรอบโลก เขาได้ยินเสียงแอปเปิลหล่นจากต้นไม้ จึงเริ่มเชื่อมโยงเหตุการณ์ระหว่างดวงจันทร์โคจรรอบโลก เข้ากับข้อสังเกตเรื่องแรงโน้มถ่วง แล้วนำมาสู่ข้อสรุปว่า แรงโน้มถ่วงดึงดูดทั้งแอปเปิลให้ตกลงสู่พื้น และดึงดูดดวงจันทร์โคจรรอบโลก เหตุการณ์พบแอปเปิลตกนี้ถือเป็นตำนานเรื่องเล่าอมตะอีกเรื่องในประวัติศาสตร์โลก แต่เชื่อกันว่า ขณะที่นิวตัน พบเห็นแอปเปิลตกลงมา เขายังไม่ได้วิเคราะห์ออกมาเป็นทฤษฎีในเวลานั้นเลย แต่ใช้เวลาอีกหลายปีพัฒนามาเป็นทฤษฎีแบบสมบูรณ์ นอกเหนือจากบุคลิกเงียบขรึม โดดเดี่ยว อันเนื่องมาจากสภาพครอบครัวในวัยเด็กที่ห่างไกลจากแม่แล้ว ในชีวิตที่โดดเดี่ยวของนิวตัน ยังมี “คู่ปรับ” รายหนึ่งคือนักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันนามว่า “ก็อตตฟรีด ไลบ์นิซ” (Gottfried Leibniz) ซึ่งทั้งคู่เป็นคู่กรณีในข้อถกเถียงว่า ใครเป็นคนคิดค้นแคลคูลัส ก่อนกันแน่ จากข้อมูลในอังกฤษ นิวตัน พัฒนาแคลคูลัส เวอร์ชั่นของเขาเมื่อทศวรรษ 1660s แต่ในช่วงเวลานั้นยังไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่งาน ขณะที่ไลบ์นิซ คิดค้นแคลคูลัสฉบับของเขาในช่วง 1670s และเผยแพร่ผลงานของตัวเองในทศวรรษต่อมา ทั้งคู่ต่างกล่าวหากันว่าคัดลอกผลงานกันและกัน นิวตัน กล่าวหาว่า ไลบ์นิซ ขโมยแนวคิดของเขาจากงานเขียนที่ไม่ได้ออกตีพิมพ์ หลังจากเอกสารสรุปเนื้อหาโดยคร่าวกระจายอยู่ในแวดวงราชสมาคม (Royal Society) ส่วนไลบ์นิซ ก็ยืนยันว่าเขาค้นพบข้อสรุปด้วยตัวเอง และกล่าวหาว่า นิวตัน ขโมยแนวคิดจากงานของเขาที่ตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments